Description
วิธีการเล่น
สื่อการเรียนรู้ชุดนี้จะใช้การพิจารณาพลาสติกแสดงรูปทรงและลักษณะของปริซึมต่าง ๆ ว่า
มีฐานและด้านข้างอย่างไร แล้วใช้รูปคลี่ของปริซึมอธิบาย และเขียนเชื่อมโยงสู่สูตรการหาพื้นที่ผิวของปริซึมฐานต่าง ๆ
ตัวอย่างเช่น
- หาพื้นที่ผิวข้างของปริซึมสามเหลี่ยม โดยนำพลาสติกไส้ในของปริซึมสามเหลี่ยมมาคลี่ออก พบว่า พื้นที่ผิวข้างของปริซึมสามเหลี่ยม = ความยาวรอบฐาน x ความสูง
- หาพื้นที่ผิวของปริซึมสามเหลี่ยม พบว่า คือพื้นที่ผิวทั้งหมดของพลาสติกไส้ในของปริซึมสามเหลี่ยม ดังนั้น พื้นที่ผิวทั้งหมดของปริซึมสามเหลี่ยม = พื้นที่ผิวข้างของปริซึมสามเหลี่ยม
+ พื้นที่ผิวหน้าตัดทั้งสองด้านของปริซึมสามเหลี่ยม
- หาพื้นที่ผิวข้างของปริซึมสี่เหลี่ยม โดยนำพลาสติกไส้ในของปริซึมสี่เหลี่ยมมาคลี่ออก พบว่า พื้นที่ผิวข้างของปริซึมสี่เหลี่ยม = ความยาวรอบฐาน x ความสูง
- หาพื้นที่ผิวของปริซึมสี่เหลี่ยม พบว่า คือพื้นที่ผิวทั้งหมดของพลาสติกไส้ในของปริซึมสี่เหลี่ยม
ดังนั้น พื้นที่ผิวทั้งหมดของปริซึมสี่เหลี่ยม = พื้นที่ผิวข้างของปริซึมสี่เหลี่ยม + พื้นที่ผิวหน้าตัดทั้งสองด้านของปริซึมสี่เหลี่ยม
- หาพื้นที่ผิวข้างของปริซึมหกเหลี่ยม โดยนำพลาสติกไส้ในของปริซึมหกเหลี่ยมมาคลี่ออก พบว่า พื้นที่ผิวข้างของปริซึมหกเหลี่ยม = ความยาวรอบฐาน x ความสูง
- หาพื้นที่ผิวของปริซึมหกเหลี่ยม พบว่า คือพื้นที่ผิวทั้งหมดของพลาสติกไส้ในของปริซึม
หกเหลี่ยม ดังนั้น พื้นที่ผิวทั้งหมดของปริซึมหกเหลี่ยม = พื้นที่ผิวข้างของปริซึมหกเหลี่ยม + พื้นที่ผิว
หน้าตัดทั้งสองด้านของปริซึมหกเหลี่ยม
- สรุปได้ว่า พื้นที่ผิวทั้งหมดของปริซึม = พื้นที่ผิวข้างของปริซึม + พื้นที่ผิวหน้าตัดทั้งสองด้าน
ของปริซึม
ข้อแนะนำสำหรับผู้ปกครอง
ผู้ปกครองควรแนะนำให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง เพื่อนักเรียนจะได้สร้างองค์ความรู้
เป็นของตนเองและในระหว่างการปฏิบัติกิจกรรมควรตั้งคำถามกระตุ้นความคิดในแต่ละขั้นตอน จากนั้น
ให้นักเรียนนำเสนอหลักการหาพื้นที่ผิวของปริซึม พร้อมสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการสังเกต โดยมีผู้ปกครองคอยตรวจสอบความถูกต้อง
Reviews
There are no reviews yet.