ชุดพื้นที่ผิวของกรวย [Surface Area of a Cone]

หาสูตรพื้นที่ผิวของกรวยได้ด้วยตนเอง

วัตถุประสงค์
ใช้ประกอบการสอนเกี่ยวกับหลักการหาพื้นที่ผิวของกรวย โดยพิจารณาจากการคลี่พลาสติกไส้ในของกรวยที่เป็นพลาสติกใส แสดงความสัมพันธ์ของพื้นที่ผิวของกรวย

ขนาด
พลาสติกใสกรวยที่บรรจุรูปคลี่พลาสติกของกรวยขนาด 80 x 80 x 80 mm.

Description

วิธีการเล่น

สื่อการเรียนรู้ชุดนี้จะใช้การถอดพลาสติกไส้ในของกรวยมาคลี่ออก พิจารณาลักษณะรูปร่าง

แล้วเขียนแสดงความสัมพันธ์ที่มาของสูตรพื้นที่ผิวของกรวยกับรูปคลี่ของกรวย

ตัวอย่างเช่น

1. พิจารณากรวยที่มีความสูงเอียงยาว l หน่วย และมีรัศมีของฐาน r หน่วย
2. นำพลาสติกไส้ในกรวยมาคลี่ออกได้เป็นรูปสามเหลี่ยมฐานโค้ง AOB และวงกลมรัศมี r หน่วย
(อาจใช้ป้ายสติกเกอร์เขียนตัวอักษร แล้วติดกำกับไว้ในแต่ละส่วนของพลาสติกที่แสดงรูปคลี่ของกรวย)
3. พิจารณาหาพื้นที่ผิวข้างของกรวย พบว่า จะเท่ากับพื้นที่สามเหลี่ยมฐานโค้ง AOB โดยสามเหลี่ยมฐานโค้ง AOB จะมีความยาวฐานโค้งเท่ากับ 2″π” r หน่วย และรัศมีเท่ากับ l หน่วย
4. จากสื่อการเรียนรู้ สามารถพิจารณาความสัมพันธ์ได้ คือ
(พื้นที่ของสามเหลี่ยมฐานโค้ง AOB)/พื้นที่ของวงกลม = (ความยาวของส่วนโค้ง AOB)/ความยาวของเส้นรอบวง
(พื้นที่ของสามเหลี่ยมฐานโค้ง AOB)/〖πr〗^2 = 2πr/2πl
พื้นที่ของสามเหลี่ยมฐานโค้ง AOB = 2πr/2πl × 〖πr〗^2
พื้นที่ของสามเหลี่ยมฐานโค้ง AOB = πrl
เนื่องจาก พื้นที่ผิวข้างของกรวย = พื้นที่ของสามเหลี่ยมฐานโค้ง AOB
= “π” rl
และ พื้นที่ผิวทั้งหมดของกรวย = พื้นที่ของสามเหลี่ยมฐานโค้ง AOB + พื้นที่วงกลม
= “π” rl +” π” r2

ข้อแนะนำสำหรับผู้ปกครอง

ผู้ปกครองควรแนะนำให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง เพื่อนักเรียนจะได้สร้างองค์ความรู้

เป็นของตนเองและในระหว่างการปฏิบัติกิจกรรมควรตั้งคำถามกระตุ้นความคิดในแต่ละขั้นตอน

จากนั้นให้นักเรียนนำเสนอหลักการหาพื้นที่ผิวของกรวย พร้อมสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการสังเกต

โดยมีผู้ปกครองคอยตรวจสอบความถูกต้อง

 

 

 

 

 

 

Additional information

จำนวน

2 ชิ้น

Reviews

There are no reviews yet.

Be the first to review “ชุดพื้นที่ผิวของกรวย [Surface Area of a Cone]”

Your email address will not be published. Required fields are marked *