ชุดการหาตัวประกอบโดยใช้ไม้รางเลื่อน [Finding Factors Using Sliding Wooden Rails]

ฝึกทักษะการหาตัวประกอบของจำนวนนับ

วัตถุประสงค์
ใช้ประกอบการสอนเกี่ยวกับการหาตัวประกอบของจำนวนนับ โดยใช้ไม้รางเลื่อนอธิบายการหา
ตัวประกอบโดยเน้นที่จำนวนนับที่เป็นจำนวนเฉพาะ

ขนาด
กระดานไม้รางเลื่อนทำด้วยไม้ยางพาราและไม้ MDF เคลือบด้วยสี NON TOXIC ขนาด 100 x 290 x 10 mm.

Description

วิธีการเล่น

สื่อการเรียนรู้ชุดนี้จะใช้การเขียนจำนวนนับบนเส้นจำนวน แล้วใช้ตัวเล่นไม้รูปลูกศรเลื่อนแสดงความหมายและการหาตัวประกอบของจำนวนนับที่ต้องการ

ตัวอย่างเช่น

  1. ใช้ปากกาไวท์บอร์ดเขียนจำนวนนับบนเส้นจำนวน (0-15 เพิ่มขึ้นทีละ 1)
  2. ต้องการหาตัวประกอบของ 12 ทำได้โดย

– เลื่อนลูกศรทีละ 1 ช่อง ซึ่งพบว่า ลูกศรสามารถชี้ที่ตัวเลข 12 พอดี

ดังนั้น 1 เป็นตัวประกอบของ 12

– เลื่อนลูกศรทีละ 2 ช่อง ซึ่งพบว่า ลูกศรสามารถชี้ที่ตัวเลข 12 พอดี

ดังนั้น 2 เป็นตัวประกอบของ 12

– เลื่อนลูกศรทีละ 3 ช่อง ซึ่งพบว่า ลูกศรสามารถชี้ที่ตัวเลข 12 พอดี

ดังนั้น 3 เป็นตัวประกอบของ 12

– เลื่อนลูกศรทีละ 4 ช่อง ซึ่งพบว่า ลูกศรสามารถชี้ที่ตัวเลข 12 พอดี

ดังนั้น 4 เป็นตัวประกอบของ 12

– เลื่อนลูกศรทีละ 5 ช่อง ซึ่งพบว่า ลูกศรไม่สามารถชี้ที่เลข 12 พอดี

ดังนั้น 5 ไม่เป็นตัวประกอบของ 12

– เลื่อนลูกศรทีละ 6 ช่อง ซึ่งพบว่า ลูกศรสามารถชี้ที่ตัวเลข 12 พอดี

ดังนั้น 6 เป็นตัวประกอบของ 12

– เลื่อนลูกศรทีละ 7 ช่อง ซึ่งพบว่า ลูกศรไม่สามารถชี้ที่เลข 12 พอดี

ดังนั้น 7 ไม่เป็นตัวประกอบของ 12

– เลื่อนลูกศรทีละ 8 ช่อง ซึ่งพบว่า ลูกศรไม่สามารถชี้ที่เลข 12 พอดี

ดังนั้น 8 ไม่เป็นตัวประกอบของ 12

– เลื่อนลูกศรทีละ 9 ช่อง ซึ่งพบว่า ลูกศรไม่สามารถชี้ที่เลข 12 พอดี

ดังนั้น 9 ไม่เป็นตัวประกอบของ 12

– เลื่อนลูกศรทีละ 10 ช่อง ซึ่งพบว่า ลูกศรไม่สามารถชี้ที่เลข 12 พอดี

ดังนั้น 10 ไม่เป็นตัวประกอบของ 12

– เลื่อนลูกศรทีละ 11 ช่อง ซึ่งพบว่า ลูกศรไม่สามารถชี้ที่เลข 12 พอดี

ดังนั้น 11 ไม่เป็นตัวประกอบของ 12

– เลื่อนลูกศรทีละ 12 ช่อง ซึ่งพบว่า ลูกศรสามารถชี้ที่ตัวเลข 12 พอดี

ดังนั้น 12 เป็นตัวประกอบของ 12

  1. ดังนั้น ตัวประกอบของ 12 คือ 1, 2, 3, 4, 6 และ 12

ข้อแนะนำสำหรับผู้ปกครอง

ผู้ปกครองควรแนะนำให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง เพื่อนักเรียนจะได้สร้างองค์ความรู้

เป็นของตนเองและในระหว่างการปฏิบัติกิจกรรมควรตั้งคำถามกระตุ้นความคิดในแต่ละขั้นตอน

จากนั้นให้นักเรียนนำเสนอเกี่ยวกับความหมายและการหาตัวประกอบของจำนวนนับ

พร้อมสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการสังเกตโดยมีผู้ปกครองคอยตรวจสอบความถูกต้อง

 

Additional information

จำนวน

1 ชิ้น

Reviews

There are no reviews yet.

Be the first to review “ชุดการหาตัวประกอบโดยใช้ไม้รางเลื่อน [Finding Factors Using Sliding Wooden Rails]”

Your email address will not be published. Required fields are marked *