Description
วิธีการเล่น
สื่อการเรียนรู้ชุดนี้จะใช้การพลิกตัวเล่นแสดงการถอดตัวเล่นสลับวางบนฐานรองแสดงความ
เท่ากันของเศษส่วนโดยพิจารณาที่สีและจำนวนของตัวเล่น ก่อนแสดงการบวกและการลบเศษส่วน
เมื่อตัวส่วนไม่เท่ากัน
ตัวอย่างเช่น
1. พิจารณาการแบ่งพื้นที่ของถาดเพื่อวางตัวเล่น 3 ถาด ดังนี้
ถาดที่ 1 แบ่งเป็น 5 ส่วนเท่า ๆ กัน
แถวที่ 2 แบ่งเป็น 10 ส่วนเท่า ๆ กัน
แถวที่ 3 แบ่งเป็น 10 ส่วนเท่า ๆ กัน
2. หาผลบวกของ “1” /”5″ กับ “3” /”10″
1) พลิกตัวเล่นของถาดที่ 1 ขึ้นมา 1 ชิ้น (แสดง “1” /”5″ )
2) พลิกตัวเล่นของถาดที่ 2 ขึ้นมา 2 ชิ้น (แสดง “2” /”10″ )
3) ลองหยิบตัวเล่นในถาดที่ 1 ที่พลิกด้านขึ้นมาแล้ว (“1″ /”5” ) เทียบกับตัวเล่นในถาดที่ 2 ที่พลิกด้าน
ขึ้นมาแล้ว (แสดง “2” /”10″ ) จะพบว่า “1” /”5″ เท่ากับ “2” /”10″
4) เนื่องจาก “1” /”5″ เท่ากับ “2” /”10″ จึงใช้ถาดที่ 3 แสดงการหาผลบวกของ “2” /”10″ กับ “3” /”10″
5) พลิกตัวเล่นของถาดที่ 3 ขึ้นมาก่อน 2 ชิ้น (แสดง “2” /”10″ )
6) พลิกตัวเล่นของถาดที่ 3 ที่อยู่ถัดมาอีก 3 ชิ้น (แสดง “3” /”10″ )
7) นับจำนวนตัวเล่นของถาดที่ 3 ที่พลิกทั้งหมด ซึ่งเท่ากับ 5 ชิ้น (แสดง “5” /”10″ )
8) เขียนแสดงการบวกได้ คือ 2/10+3/10 = 5/10
ดังนั้น 1/5+3/10 = 5/10
3. สรุปได้ว่า การบวกและการลบเศษส่วนเมื่อตัวส่วนไม่เท่ากัน ต้องทำให้ตัวส่วนเท่ากันก่อน
จึงจะสามารถนำตัวเศษมาบวกหรือลบกันได้
หมายเหตุ : การลบเศษส่วนเมื่อตัวส่วนไม่เท่ากัน สามารถใช้หลักการเดียวกันกับการบวกเศษส่วน เมื่อตัวส่วนไม่เท่ากัน คือต้องทำตัวส่วนให้เท่ากันก่อนดังตัวอย่างข้างต้น
ข้อแนะนำสำหรับผู้ปกครอง
ผู้ปกครองควรแนะนำให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง เพื่อนักเรียนจะได้สร้างองค์ความรู้
เป็นของตนเองและในระหว่างการปฏิบัติกิจกรรมควรตั้งคำถามกระตุ้นความคิดในแต่ละขั้นตอน
จากนั้นให้นักเรียนนำเสนอหลักการบวกและการลบเศษส่วนเมื่อตัวส่วนไม่เท่ากัน พร้อมสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการสังเกต
โดยมีผู้ปกครองคอยตรวจสอบความถูกต้อง
Reviews
There are no reviews yet.