รายละเอียด
วิธีการเล่น
สื่อการเรียนรู้ชุดนี้จะใช้การนำตัวเล่นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากประกอบเป็นทรงลูกบาศก์ พิจารณาความสัมพันธ์ของปริมาตรของทรงลูกบาศก์ที่ได้ จากนั้นแยกตัวเล่นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากออกเป็น 3 ส่วน แล้วพิจารณาความสัมพันธ์ของปริมาตรของตัวเล่นไม้ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากแต่ละส่วน เชื่อมโยงสู่
การแยกตัวประกอบผลต่างของกำลังสาม
ตัวอย่างเช่น
- พิจารณาสื่อการเรียนรู้ หากต้องการแยกตัวประกอบผลต่างของกำลังสาม
ทำได้โดยกำหนดให้
ตัวเล่นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากสีเขียว มีความกว้าง A – B หน่วย มีความยาว A หน่วย
และมีความสูง A หน่วย
ตัวเล่นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากสีแดง มีความกว้าง B หน่วย มีความยาว A – B หน่วย
และมีความสูง A หน่วย
ตัวเล่นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากสีเหลือง มีความกว้าง B หน่วย มีความยาว B หน่วย
และมีความสูง A – B หน่วย
ตัวเล่นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากสีน้ำเงิน มีความยาวแต่ละด้านยาว B หน่วย
(อาจใช้ป้ายสติกเกอร์ เขียน A B และ A – B แล้วติดกำกับไว้ในแต่ละตัวเล่น)
- ปริมาตรของตัวเล่นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากสีเขียว = ความกว้าง x ความยาว x ความสูง
= A2(A – B) ลูกบาศก์หน่วย
ปริมาตรของตัวเล่นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากสีแดง = ความกว้าง x ความยาว x ความสูง
= AB(A – B) ลูกบาศก์หน่วย
ปริมาตรของตัวเล่นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากสีเหลือง = ความกว้าง x ความยาว x ความสูง
= B2(A – B) ลูกบาศก์หน่วย
ปริมาตรของตัวเล่นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากสีน้ำเงิน = (ความยาวแต่ละด้าน)3
= B3 ลูกบาศก์หน่วย
- นำตัวเล่นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากทั้งหมดมาประกอบกัน ซึ่งจะได้ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากรูปใหญ่
โดยทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากรูปใหญ่ มีความยาวแต่ละด้านยาว A หน่วย
ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากรูปใหญ่ = (ความยาวแต่ละด้าน)3
= A3 ลูกบาศก์หน่วย
- นำตัวเล่นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากสีน้ำเงินออกจากทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากรูปใหญ่ พบว่า
ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากสีเหลือง = ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากรูปใหญ่
– ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากรูปเล็ก
= A3 – B3 ลูกบาศก์หน่วย
- แยกตัวเล่นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากสีเหลืองที่ประกอบกันไว้ ออกมาพิจารณาเป็น 3 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 เป็นตัวเล่นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากสีเขียว ส่วนที่ 2 เป็นตัวเล่นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากสีแดง และ
ส่วนที่ 3 เป็นตัวเล่นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากสีเหลือง แล้วพิจารณาหาความสัมพันธ์
- จากสื่อการเรียนรู้ สามารถพิจารณาความสัมพันธ์ได้ คือ
ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากสีเหลือง
= ปริมาตรของส่วนที่ 1 + ปริมาตรของส่วนที่ 2 + ปริมาตรของส่วนที่ 3
A3 – B3 = A2(A – B) + AB(A – B) + B2(A – B)
= (A – B)(A2 + AB + B2)
- สรุปได้ว่า A3 – B3 = (A + B)(A2 + AB + B2)
ข้อแนะนำสำหรับผู้ปกครอง
ผู้ปกครองควรแนะนำให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง เพื่อนักเรียนจะได้สร้างองค์ความรู้
เป็นของตนเองและในระหว่างการปฏิบัติกิจกรรมควรตั้งคำถามกระตุ้นความคิดในแต่ละขั้นตอน
จากนั้นให้นักเรียนนำเสนอหลักการแยกตัวประกอบผลต่างของกำลังสาม พร้อมสรุปองค์ความรู้ที่ได้
จากการสังเกต โดยมีผู้ปกครองคอยตรวจสอบความถูกต้อง
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์